วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Introduction to Python

      Python เป็นภาษา Dynamic Object-Oriented Programming ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Guido von Rossum ในปี ค.ศ. 1990 ได้ออกแบบมาเพื่อให้ทำงานได้กับ Web Application และปัจจุบันถูกดูแลโดย Python Software Foundation (PSF) โดย Version ล่าสุดตอนนี้คือ Python 3.1 หรือเรียกอีกอย่างว่า Python 3000 หรือ Py3k  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถที่จะดูได้ที่ Official Site ที่ http://www.python.org

      สิ่งที่ดึงดูดสำหรับ Python ก็คือมันเป็นทั้ง Cross Platform กล่าวคือ สามารถที่จะเอาไปทำงานบน Operating System ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น MS Windows, Linux, หรือ OS/X เป็นต้น โดยที่มีอิสระในการแก้ไข Library ต่างๆ ที่ Python และมี Open Source License คือ การนำ Software ที่พัฒนาขึ้นจาก Python ไปทำประโยชน์ทางธุรกิจได้อย่างเต็มที่ โดยไม่เสียเงิน             
      นอกจากนี้ตัวโครงสร้างและ Syntax ของภาษาค่อนข้างอ่านง่าย เข้าใจง่าย และมี Object ด้าน Data Structure รองรับอยู่หลายแบบ


จะขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพดังนี้

ตัวอย่างที่ 1 โปรแกรม “Hello world !”


สำหรับ Java
public class
{
   public static void main(String[]args)
   {
         System.out.println("Hello, world!");
   }
}


สำหรับ Python

print "Hello, world!"


ตัวอย่างที่ 2 การประกาศตัวแปรและลักษณะการใช้ Conditional Statement

สำหรับ Java
int myCounter = 0;
String myString=String.valueOf(myCounter);
if (myString.equals(?0?))


สำหรับ Python
myCounter = 0
myString = str(myCounter)
if myString == ?0?:


    ใน Java และ C/C++ การประกาศตัวแปรจะต้องระบุชนิดของตัวแปรอย่างชัดเจน แต่ใน Python นั้น การใช้งานตัวแปรต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีการประกาศและกำหนดชนิดของตัวแปรก่อน นอกจากนั้นการเปรียบเทียบค่าของตัวแปรก็ใช้ operator แทนการใช้ method ทำให้เขียนอ่านเข้าใจง่ายกว่า

ข้อเสียของภาษา Python

1. Python เป็น Scripting Language ซึ่งทำงานโดยมี Interpreter แปลงคำสั่งในแต่ละบรรทัดของโปรแกรมให้เป็น machine code ในระหว่างที่โปรแกรมทำงาน โดยไม่มีการ compile ตัว source code ทั้งหมดเป็น machine code ก่อนเริ่มการทำงานของโปรแกรม ดังนั้นสิ่งที่จะพบแน่ๆ คือ มันจะทำงานช้ากว่า C/C++ (รวมถึง Java ด้วย )

2. ที่เป็นผลพวงตามมาจากข้อแรกคือ มันไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องของการเรียกใช้ตัวแปรทั้งหมดของโปรแกรมก่อนเริ่มทำงาน ดังนั้นแล้ว ถ้าผู้เขียนขาดความระมัดระวังในระหว่างพัฒนาโปรแกรม จะทำให้โอกาสเกิด Runtime Error จากการเรียกใช้ตัวแปรที่ไม่ได้ประกาศหรือใช้งานตัวแปรผิดประเภทได้ง่าย (สาเหตุส่วนใหญ่ของกรณีพวกนี้เท่าที่ผมพบก็คือ พิมพ์ชื่อตัวแปรผิด) ซึ่งความผิดพลาดพวกนี้จะไม่ถูกค้นพบจนกว่าโปรแกรมจะถูกสั่งให้ทำงานจนถึงบรรทัดที่มีปัญหานั้น


ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.ayarafun.com/2009/08/basic-python-programming-part1/

***<textarea cols="105" rows="10"></textarea>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น